sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
800635
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บัตรประจำตัวนายทะเบียนและบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้ออกบัตรประจำตัวนายทะเบียนและบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สำหรับปลัดกระทรวงแรงงาน หรือข้าราชการอื่นที่ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (๒) ปลัดกระทรวงแรงงาน สำหรับรองปลัดกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมการจัดหางานผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน หรือข้าราชการอื่นที่ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (๓) อธิบดีกรมการจัดหางาน สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๑) และ (๒) ซึ่งปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร หรือปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบมากกว่าหนึ่งจังหวัด (๔) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งปฏิบัติงานเฉพาะในเขตจังหวัดนั้น ข้อ ๓ ให้ข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวตามแบบท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบรูปถ่ายจำนวนสองรูป และสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับรองความถูกต้องต่อผู้บังคับบัญชาของตน รูปถ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาสีเข้ม แต่งเครื่องแบบข้าราชการ หรือเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขนาด ๒.๕ x ๓ เซนติเมตร ที่ถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนก่อนวันขอมีบัตรประจำตัว ให้ผู้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง เสนอคำขอนั้นต่อกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ เมื่อได้ออกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ใดให้ผู้ออกบัตรประจำตัวจัดให้มีสำเนาข้อความและรายการบัตรประจำตัวซึ่งติดรูปถ่ายของผู้นั้นไว้ด้วยหนึ่งฉบับ และให้เก็บไว้เป็นหลักฐานที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ บัตรประจำตัวนายทะเบียนและบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจออกบัตรตามข้อ ๒ กำหนดไว้ในบัตร แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกบัตร ให้ผู้ถือบัตรขอมีบัตรภายในสามสิบวันก่อนวันที่บัตรนั้นสิ้นอายุ ในกรณีที่บัตรสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ถือบัตรขอมีบัตรใหม่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บัตรนั้นสูญหาย หรือชำรุดดังกล่าว ถ้าผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล หรือมีเหตุอื่นอันทำให้ต้องเปลี่ยนบัตรให้ผู้ถือบัตรขอเปลี่ยนบัตรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล หรือนับแต่วันที่มีเหตุอันทำให้ต้องเปลี่ยนบัตรนั้น แล้วแต่กรณี ให้นำความในข้อ ๓ และข้อ ๔ มาใช้บังคับกับการขอมีบัตรในข้อนี้ โดยให้ยื่นบัตรเดิมของผู้ยื่นคำขอประกอบมาด้วย เว้นแต่กรณีบัตรเดิมสูญหาย ข้อ ๖ เมื่อผู้ถือบัตรพ้นจากตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้บัตรประจำตัวซึ่งออกตามประกาศนี้สิ้นอายุ และให้ผู้ถือบัตรคืนบัตรประจำตัวนั้นแก่ผู้ออกบัตรภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบบัตรประจำตัวนายทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ๒. แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ๓. คำขอมีบัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ๔. คำรับรองการขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓/๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
796105
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
ประกาศกระทรวงแรงงาน ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติ ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น[๑] โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนและดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาทำงานอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๔ (๒) แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวดังต่อไปนี้ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวกรณีพิเศษ (Smart Visa) ให้ได้รับอนุญาตให้ทำงานในราชอาณาจักรได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยได้รับยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ (๑) ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง (๒) นักลงทุน (๓) ผู้บริหารระดับสูง (๔) ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ข้อ ๒ ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตามข้อ ๑ และบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตามข้อ ๑ (๑) ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตให้ทำงานในราชอาณาจักรซึ่งมิใช่งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร แต่ไม่เกินสิทธิของคนต่างด้าวตามข้อ ๑ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ปวันวิทย์/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๘/๓๑ มกราคม ๒๕๖๑
845331
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับ Update ณ วันที่ 07/07/2560)
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒ กำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ (๑)[๒] สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตกรุงเทพมหานคร (๒) ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งของคนต่างด้าวดังนี้ (ก) คนต่างด้าวซึ่งนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ตั้งแต่ ๒ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ข) คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับสถานประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วหรือทุนดำเนินการตั้งแต่ ๓๐ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ค) คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะทำงานหรือได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจบริการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ง) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (จ) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (ฉ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการและบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ช) คนต่างด้าวซึ่งเป็นนักวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ซ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฌ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ญ) คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติงานประจำสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฎ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพันธกรณีที่รัฐบาลทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (๓)[๓] ศูนย์จัดหางาน สาขาเกาะสมุย กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเกาะสมุยและอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๔)[๔] ด่านตรวจคนหางานเบตง กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒)[๕] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ พรวิภา/เพิ่มเติม ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๓๙/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๓] ข้อ ๒ (๓) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๔] ข้อ ๒ (๔) เพิ่มโดยประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๙/๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
786732
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตทำงาน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๙ วรรคสาม มาตรา ๖๒ วรรคสาม มาตรา ๖๓ วรรคสาม และมาตรา ๖๔ วรรคสี่ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ ๓ (๑) (๒) และ (๓) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ใบอนุญาตทำงาน” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร “ใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ใบอนุญาตทำงานในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓ ใบอนุญาตทำงานมี ๔ ชนิด ดังนี้ (๑) ใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (๒) ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (๓) ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ (๔) ใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๔ ใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๓ และ บต.๔ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๓ บต.๔ และ บต.๕ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๖ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามแบบ บต.๗ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ใช้บังคับข้อ ๓ (๑) (๒) และ (๓) ใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามแบบ ตท.๑๑ ตท.๑๑/๒ และ ตท.๑๕ ท้ายกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตการออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ ให้เป็นไปตามแบบ ตท.๑๑/๑ ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ ๙ บรรดาใบอนุญาตทำงานที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตทำงานนั้นจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมคอมพิวเตอร์และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แบบ บต. ๓ ๒. แบบใบอนุญาตทำงานที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมคอมพิวเตอร์และใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แบบ บต.๔ ๓. แบบใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แบบ บต.๕ ๔. แบบใบอนุญาตทำงานที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ แบบ บต.๖ ๕. แบบใบอนุญาตทำงานอิเล็กทรอนิกส์ แบบ บต.๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๑๔/๒๑ กันยายน ๒๕๖๐
783280
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๓ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ แบบรายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศให้เป็นไปตามแบบ บต. ๒ ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ประจำเดือน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๒ ง/หน้า ๙/๙ สิงหาคม ๒๕๖๐
781214
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปเพื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๒/๒๕๖๐ วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๑๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780948
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2)
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒)[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดสถานที่ในการยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวเพิ่มเติมเพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าวที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถรับบริการจากหน่วยงานของรัฐได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) ของกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๒ แห่งประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑) สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตกรุงเทพมหานคร” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓) และ (๔) ของข้อ ๒ แห่งประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ “(๓) ศูนย์จัดหางาน สาขาเกาะสมุย กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเกาะสมุยและอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๔) ด่านตรวจคนหางานเบตง กรมการจัดหางาน สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๙/๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780898
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงแรงงาน ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงาน ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] เพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าวดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้โดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๒ คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งทำงานกับนายจ้างอยู่แล้วและประสงค์จะทำงานในประเทศไทยต่อไป ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) ซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigrant L - A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร แต่ไม่ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับการตรวจลงตรา ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรได้เท่าระยะเวลาที่เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้อนุญาตไว้แล้วในหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) โดยให้คนต่างด้าวยื่นคำขออนุญาตทำงานตามแบบ ตท.๒ ท้ายกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว ทั้งนี้ หากคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานเดิมหรือไม่ตรงตามเอกสารแสดงตนของคนต่างด้าว ให้นายจ้างรายใหม่จัดทำสัญญาจ้างกับคนต่างด้าวนั้นแล้วให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและนายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ทำงาน ให้ตรงตามเอกสารและหลักฐานของนายจ้างรายใหม่โดยอนุญาตให้ทำงานได้ไม่เกินวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยให้คนต่างด้าวชำระค่าธรรมเนียม การยื่นคำขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ปีละ ๙๐๐ บาท ทั้งนี้ ให้นับต่อจากระยะเวลาที่ใบอนุญาตทำงานเดิมยังไม่สิ้นอายุและให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้อีกครั้งเดียว ไม่เกินวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยให้คนต่างด้าวชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ปีละ ๙๐๐ บาท (๒) คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานแต่ทำงานกับนายจ้างไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำงาน ให้นายทะเบียนอนุญาตให้เปลี่ยนนายจ้างได้โดยให้คนต่างด้าวดังกล่าวยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนนายจ้างตามแบบ ตท.๒ หรือ ตท.๘ ท้ายกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว โดยให้คนต่างด้าวชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนนายจ้าง ๙๐๐ บาท และให้ได้รับการยกเว้นการตรวจสุขภาพ ในกรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ก่อนวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ ให้เปลี่ยนนายจ้างได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ภายหลังวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ ให้เปลี่ยนนายจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (ก นายจ้างเลิกจ้างหรือนายจ้างเสียชีวิต (ข) นายจ้างล้มละลาย (ค) นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง (ง) นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (จ) ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ข้อ ๓ ในกรณีที่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อจัดทำหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) ให้นายจ้างยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าวดังกล่าว ณ ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอจ้างคนต่างด้าวจากนายจ้างตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประทับตรารับเรื่องในคำขอจ้างคนต่างด้าวดังกล่าว และออกใบรับคำขอเพื่อนัดให้นายจ้างนำคนต่างด้าวนั้นไปพบเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานที่กระทรวงแรงงานกำหนด ณ ท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์ทราบว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นลูกจ้างและทำงานกับนายจ้างดังกล่าวจริง เมื่อปรากฏว่าคนต่างด้าวเป็นลูกจ้างของนายจ้างจริงให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักรเพื่อขอรับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือเอกสารที่ประเทศต้นทางออกให้ ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวดังกล่าวโดยประทับตราอนุญาตให้เข้าและออกราชอาณาจักรในเอกสารรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักร และให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมเฉพาะการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหรือการเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) เอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือเอกสารที่ประเทศต้นทางออกให้แล้ว ให้ไปขอรับการตรวจลงตรา (Visa) ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่คนต่างด้าวทำงาน โดยชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigrant L - A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยให้ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตรา ๕๐๐ บาท และให้นายจ้างนำคนต่างด้าวไปยื่นคำขออนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ทำงานได้ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยให้คนต่างด้าวชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ๔๕๐ บาท ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพในระหว่างเวลาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ข้อ ๔ ในกรณีที่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ซึ่งทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยอยู่แล้วแต่ไม่มีเอกสารแสดงตน ให้นายจ้างยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าวที่ทำงานกับตนนั้น ณ ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว ให้นายจ้างยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ และเมื่อนายจ้างได้ยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าวแล้วให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ประทับตรารับเรื่องในคำขอจ้างคนต่างด้าวและออกใบรับคำขอเพื่อนัดให้นายจ้างนำคนต่างด้าวไปพบเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานที่กระทรวงแรงงานกำหนด ในท้องที่จังหวัดที่คนต่างด้าวทำงานเพื่อตรวจสอบและพิสูจน์ทราบว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นลูกจ้าง และทำงานกับนายจ้างดังกล่าวจริงเมื่อปรากฏว่าคนต่างด้าวเป็นลูกจ้างของนายจ้างจริงให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารรับรองแก่คนต่างด้าวเพื่อนำไปจัดทำเอกสารกับประเทศเมียนมาในศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย โดยให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมปฏิบัติงานในศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และหน่วยบริการเคลื่อนที่ที่กระทรวงแรงงานแจ้งให้ทราบ เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือเอกสารที่ประเทศต้นทางออกให้ให้เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigrant L - A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าว ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยให้ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตรา ๕๐๐ บาท และให้เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจในการตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigrant L - A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรนอกเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร เฉพาะการดำเนินงานในศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าว สัญชาติเมียนมา และหน่วยบริการเคลื่อนที่ตามที่กระทรวงแรงงานแจ้งให้ทราบ เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราแล้วให้นายจ้างนำคนต่างด้าวไปยื่นคำขออนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าวให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ทำงานได้ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยให้คนต่างด้าวชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออนุญาตทำงาน ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ๔๕๐ บาท ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพในระหว่างเวลาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ข้อ ๕ คนต่างด้าวสัญชาติอื่นนอกจากข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่มิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน ที่ประสงค์จะทำงานหรือใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ หรือทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานหรือยื่นคำขอเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง ท้องที่ หรือประเภทงาน แล้วแต่กรณี ณ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในท้องที่กรุงเทพมหานครอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว ข้อ ๖ ให้จัดตั้ง “ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว” ดังต่อไปนี้ เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับแจ้งการทำงานตามประกาศนี้ โดยให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลัก และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวจัดเจ้าหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน ตามที่กระทรวงแรงงานร้องขอ (๑) ในกรุงเทพมหานคร ให้จัดตั้ง ณ สถานที่ตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานกำหนด (๒) ในจังหวัดอื่น ให้จัดตั้ง ณ สถานที่ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนด ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นให้กรมการจัดหางานจัดตั้ง “ศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าว สัญชาติเมียนมา” หรือขยายศูนย์ตรวจสัญชาติเพิ่มเติมจากศูนย์ตรวจสัญชาติเดิมที่มีอยู่ในท้องที่จังหวัดที่เหมาะสม และให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดส่งเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองไปประจำศูนย์ดังกล่าวเพื่อตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigrant L - A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตรา ๕๐๐ บาท ในกรณีนี้ให้เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีอำนาจในการตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigrant L - A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรนอกเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรเฉพาะการดำเนินงานในศูนย์ตรวจสัญชาติคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และหน่วยบริการเคลื่อนที่ตามที่กระทรวงแรงงานแจ้งให้ทราบ และให้นายจ้างนำคนต่างด้าวไปยื่นคำขออนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าวโดยให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ทำงานได้ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ ทั้งนี้ โดยให้คนต่างด้าวชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ๔๕๐ บาท ข้อ ๘ ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานที่ประทับตราคำว่า “ใช้แทนใบอนุญาตทำงาน” ให้ใช้ได้เสมือนใบอนุญาตทำงาน โดยใช้คู่กับเอกสารสำคัญประจำตัวที่ประเทศต้นทางออกให้เป็นหลักฐานแทนใบอนุญาตทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๙ ในระหว่างที่คนต่างด้าวเดินทางไปตรวจสัญชาติหรือจัดทำหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือเอกสารที่ประเทศต้นทางออกให้ ทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักรเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้ได้รับการยกเว้นเกี่ยวกับการเดินทางเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ข้อ ๑๐ คำขอจ้างคนต่างด้าว เอกสารรับรอง เอกสารรับรองการเดินทางไปนอกราชอาณาจักร และคำขออนุญาตทำงานให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ บรรดากฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด ๆ ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรบรอง ๒. คำขออนุญาตทำงาน ๓. คำขอจ้างคนต่างด้าว ๔. หนังสือรบรอง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๗ ง/หน้า ๖/๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐
780710
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดงานอันจำเป็นและเร่งด่วน
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดงานอันจำเป็นและเร่งด่วน[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดงานอันจำเป็นและเร่งด่วนที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ งานดังต่อไปนี้ที่มีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันให้ถือว่าเป็นงานอันจำเป็นและเร่งด่วน (๑) งานจัดประชุม จัดอบรม หรือจัดสัมมนา (๒) งานบรรยายพิเศษด้านวิชาการ (๓) งานอำนวยการด้านการบิน (๔) งานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว (๕) งานตรวจสอบติดตามผลและแก้ไขปัญหาด้านเทคนิค (๖) งานตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพสินค้า (๗) งานตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือปรับปรุงกระบวนการผลิต (๘) งานตรวจสอบหรือซ่อมเครื่องจักรกลและระบบอุปกรณ์การผลิตไฟฟ้า (๙) งานช่างซ่อมหรือติดตั้งเครื่องจักรกล (๑๐) งานช่างเทคนิคระบบรถไฟฟ้า (๑๑) งานช่างอากาศยานหรือระบบอุปกรณ์ของอากาศยาน (๑๒) งานที่ปรึกษาในการซ่อมเครื่องจักรกลหรือระบบควบคุมเครื่องจักรกล (๑๓) งานสาธิตและทดสอบเครื่องจักรกล (๑๔) งานถ่ายทำภาพยนตร์และภาพนิ่ง (๑๕) งานคัดเลือกคนหางานเพื่อจัดส่งไปทำงานต่างประเทศ (๑๖) งานทดสอบฝีมือช่างเพื่อจัดส่งไปทำงานต่างประเทศ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๓/๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
780708
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง ห้ามผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบธุรกิจ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง ห้ามผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบธุรกิจ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ ห้ามผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศประกอบธุรกิจหรือกิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรง ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๒/๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
780706
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมการจัดหางานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๒ ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศให้เป็นไปตามแบบ บต. ๑ ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ บต. ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๑/๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
780944
ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว
ประกาศกรมการจัดหางาน ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓๖ (๓) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒ กำหนดให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ (๑) สำนักจัดหางานกรุงเทพ สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวในเขตกรุงเทพมหานคร (๒) ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการยื่นคำขอและการแจ้งของคนต่างด้าวดังนี้ (ก) คนต่างด้าวซึ่งนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ตั้งแต่ ๒ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ข) คนต่างด้าวซึ่งขออนุญาตทำงานกับสถานประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วหรือทุนดำเนินการตั้งแต่ ๓๐ ล้านบาทขึ้นไป และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ค) คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะทำงานหรือได้รับอนุญาตให้ทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจบริการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ง) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่นตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (จ) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม และคู่สมรสหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะ (ฉ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการและบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ช) คนต่างด้าวซึ่งเป็นนักวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ซ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศซึ่งได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฌ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบิดามารดา คู่สมรสหรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ญ) คนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติงานประจำสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค และบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ฎ) คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพันธกรณีที่รัฐบาลทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการจัดหางาน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๓๙/๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔
786768
คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 237/2560 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
คำสั่งกระทรวงแรงงาน คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ ๒๓๗/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. ปลัดกระทรวงแรงงาน รองปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการขึ้นไปที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกท้องที่จังหวัดทั่วราชอาณาจักร ๒. อธิบดีกรมการจัดหางาน รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้ตรวจราชการกรมการจัดหางาน เลขานุการกรม ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของกรมการจัดหางาน แต่ไม่รวมถึงราชการบริหารส่วนกลางซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกท้องที่จังหวัดทั่วราชอาณาจักร ๓. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการหรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไปที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของกรมการจัดหางาน แต่ไม่รวมถึงราชการบริหารส่วนกลางซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ๔. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปหรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไปที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลางของกรมการจัดหางานซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่จังหวัดซึ่งราชการบริหารส่วนกลางนั้นตั้งอยู่ ๕. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หรือปลัดอำเภอ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่จังหวัด อำเภอหรือกิ่งอำเภอที่รับผิดชอบ ๖. แรงงานจังหวัด หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติงาน ณ สำนักงานแรงงานจังหวัด เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่จังหวัดที่รับผิดชอบ ๗. จัดหางานจังหวัด ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไปที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือพนักงานราชการตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน ซึ่งปฏิบัติงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่จังหวัดที่รับผิดชอบ ๘. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานตรวจแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๙. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานประกันสังคม ตำแหน่งประเภทบริหารทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทอำนวยการทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทวิชาการทุกสายงานและทุกระดับ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๐. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตำแหน่งประเภทบริหารทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทอำนวยการทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทวิชาการทุกสายงานและทุกระดับ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๑. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมประมง ตำแหน่งประเภทบริหารทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทอำนวยการทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทวิชาการทุกสายงานและทุกระดับ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๒. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมเจ้าท่า ตำแหน่งประเภทบริหารทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทอำนวยการทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทวิชาการทุกสายงานและทุกระดับ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๓. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตำแหน่งประเภทบริหารทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทอำนวยการทุกสายงานและทุกระดับ ตำแหน่งประเภทวิชาการทุกสายงานและทุกระดับ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๔. ข้าราชการทหารชั้นสัญญาบัตรสังกัดกองทัพบก และกองทัพเรือ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ๑๕. ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๓๔/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐
786766
คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 236/2560 เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
คำสั่งกระทรวงแรงงาน คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ ๒๓๖/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] เพื่อให้การบริหารราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ประกอบมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยข้อเสนอแนะของอธิบดีกรมการจัดหางาน จึงมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นนายทะเบียนเพื่อออกใบอนุญาตทำงานและปฏิบัติการอื่นตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑. รองอธิบดีกรมการจัดหางาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน สำหรับการขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการดังกล่าว สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานและการขออนุญาต ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ๒. ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงานสำหรับการขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงานในท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานและแจ้งการทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการดังกล่าว สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ในท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างหรือท้องที่เพื่อไปทำงานในท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตในท้องที่กรุงเทพมหานคร (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในท้องที่กรุงเทพมหานคร (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ๓. หัวหน้ากลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๑ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ สำหรับการขออนุญาตทำงานการอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ในท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานและแจ้งการทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ในท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างหรือท้องที่เพื่อไปทำงานในท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตในท้องที่กรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในท้องที่กรุงเทพมหานคร (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยกลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๑ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ๔. หัวหน้ากลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๒ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ และมาตรา ๖๑ สำหรับการขออนุญาตทำงาน ในท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๒) ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการขออนุญาต และการขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ในท้องที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างหรือท้องที่เพื่อไปทำงานในท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตในท้องที่กรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในท้องที่กรุงเทพมหานคร (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยกลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๒ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ๕. หัวหน้ากลุ่มงานจัดระบบการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวเพื่อส่งเสริมการลงทุนสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๒ สำหรับการขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานและแจ้งการทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน รวมถึงการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างหรือท้องที่เพื่อไปทำงานในท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาต ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้ง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ๖. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการกลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๑ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ โดยมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการหรือหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ สำหรับการขออนุญาต การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ในท้องที่กรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๒) ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ในท้องที่กรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน หรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในเขตกรุงเทพมหานคร (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยกลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๑ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ๗. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการกลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๒ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ และมาตรา ๖๑ สำหรับการขออนุญาตทำงาน ในท้องที่กรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๒) ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ สำหรับการยื่นขออนุญาตในท้องที่กรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในท้องที่กรุงเทพมหานคร (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยกลุ่มงานพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว ๒ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ๘. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการกลุ่มงานจัดระบบการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวเพื่อส่งเสริมการลงทุน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ โดยมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการหรือหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๒ สำหรับการขออนุญาต การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ เฉพาะใบอนุญาตทำงานที่ออกให้แก่คนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจบริการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือที่ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม หรือกฎหมายอื่น หรือที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาภายใต้กรอบพันธกรณีที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การออกใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๒ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้ง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ๙. ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน สำหรับการขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานและแจ้งการทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการดังกล่าว สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างหรือท้องที่เพื่อไปทำงานในท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ ๑๐. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓ สำหรับการขออนุญาต การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งทำงานในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๙ (๒) ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาตในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๙ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ ๑๑. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน สำหรับการขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานและแจ้งการทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย (๒) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ ๑๒. จัดหางานจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน สำหรับการขออนุญาตทำงาน การอนุญาตให้ทำงาน การออกใบอนุญาตทำงาน และการแจ้งการทำงาน ในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงท้องที่จังหวัดอื่นที่ขออนุญาตทำงานและแจ้งการทำงานมาพร้อมกับคำขอนั้นด้วย (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการดังกล่าว สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างหรือท้องที่เพื่อไปทำงานในท้องที่จังหวัดอื่น ที่ขออนุญาตในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ (๓) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ (๔) เพิกถอนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๙๐ สำหรับใบอนุญาตทำงานที่ออกโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดนั้น ๑๓. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการสำนักงานจัดหางานจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ อนุญาตให้ทำงานและออกใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๕๙ โดยมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการหรือหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน สำหรับการขออนุญาตทำงานและการแจ้งการทำงาน ในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำงาน ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๑๒ (๒) จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการแจ้งการขยายระยะเวลาทำงาน การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน และการขออนุญาต ในท้องที่จังหวัดที่ตนรับผิดชอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๑๒ ๑๔. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการด่านตรวจคนหางาน กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน มีอำนาจหน้าที่รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ สำหรับการแจ้งการทำงาน ณ ด่านตรวจคนหางานที่ตนรับผิดชอบ ๑๕. ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการด่านตรวจคนหางานเบตง กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) การรับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนดซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันตามมาตรา ๕๙ จดแจ้งการขยายระยะเวลาทำงานตามมาตรา ๖๖ ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๗ ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา ๖๙ เปลี่ยนหรือเพิ่ม ประเภทงาน นายจ้าง ท้องที่ และเงื่อนไขในการทำงานตามมาตรา ๗๑ สำหรับการขออนุญาตทำงานและการแจ้งการทำงาน ณ ด่านตรวจคนหางานเบตง เว้นแต่ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานหรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มรายการในใบอนุญาตทำงานให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนตามข้อ ๑๒ ที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลด่านตรวจคนหางานเบตง กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน (๒) รับแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามมาตรา ๗๔ สำหรับการแจ้งในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๒๖/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐
840607
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายใน ของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การดำเนินงานทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพอันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๕) แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๔ ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ วิธีปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการหรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๖ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๗ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๔๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒)[๒] เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคห้า และมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (๒/๑)[๓] ค่าปรับทางปกครองที่ปรับตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกำหนดนี้ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้ตามความจำเป็น (๗) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้นำส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ข้อ ๘ ให้กรมการจัดหางานกำหนดโครงสร้างการบริหารงานกองทุนเพื่อรองรับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนประกาศกำหนด หมวด ๒ การรับเงิน การใช้จ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ข้อ ๙ ให้กรมการจัดหางานเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” เพื่อฝากเงินกองทุนและห้ามมิให้นำเงินไปใช้จ่ายก่อนเข้าบัญชีเงินฝาก เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการกองทุน กรมการจัดหางานอาจเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์ ในชื่อบัญชีเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง ได้ดังนี้ (๑) เพื่อใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุนภายในวงเงินและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง (๒) เพื่อคืนเงินให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคภายในวงเงินและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด (๓) เพื่อรับเงินคืน เงินเหลือจ่ายและดอกผลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขอรับการสนับสนุน และให้กรมการจัดหางานนำเงินที่ได้รับส่งเข้าบัญชีของกองทุนที่เปิดไว้ที่กรมบัญชีกลางตามวรรคหนึ่ง ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่รับเงิน ข้อ ๑๐ ให้กรมการจัดหางานนำเงินที่ได้รับส่งเข้าบัญชีของกองทุนที่เปิดไว้ที่กรมบัญชีกลางตามข้อ ๙ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่รับเงิน ข้อ ๑๑ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน (๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงานแก่คนต่างด้าว (๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว (๕) บริหารกองทุน (๖) บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๑๒ การใช้จ่ายเงินตามข้อ ๑๑ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด ทั้งนี้ ภายในวงเงินประมาณการรายรับและรายจ่ายประจำปีงบประมาณตามข้อ ๑๓ ข้อ ๑๓ ให้กรมการจัดหางานจัดทาแผนการดำเนินงานประจำปี ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา แผนการปฏิบัติงาน ประมาณการรายรับรายจ่ายประจำปี และประมาณการกระแสเงินสด ทั้งนี้ ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติอย่างน้อยหกสิบวันก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณของทุกปี และส่งให้กระทรวงการคลังอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณของทุกปี เพื่อใช้ประกอบการกำกับดูแล การบริหารและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน หมวด ๓ การจัดหาผลประโยชน์ ข้อ ๑๔ การนำเงินกองทุนไปดำเนินการเพื่อหาผลประโยชน์ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และให้กระทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ฝากไว้กับธนาคารของรัฐ หรือธนาคารพาณิชย์ (๒) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจ (๓) ซื้อตราสารแห่งหนี้โดยมีกระทรวงการคลังรับรอง หรืออาวัล หรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย (๔) ดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด หมวด ๔ การบัญชีและการตรวจสอบ ข้อ ๑๕ ให้กรมการจัดหางานจัดทำบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเมื่อผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองแล้ว ให้ส่งรายงานทางการเงินพร้อมรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชี ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน ข้อ ๑๗ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้กรมการจัดหางานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำงบการเงินในภาพรวมของแผ่นดิน ให้กรมการจัดหางานมีการบันทึกบัญชีของกองทุนในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๑๙ ให้กรมการจัดหางานจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการกองทุน และส่งให้กรมบัญชีกลาง ดังต่อไปนี้ (๑) รายงานแผนรายรับและแผนรายจ่ายประจำปี (๒) รายงานผลรายรับและผลรายจ่ายรายเดือน (๓) งบทดลองรายเดือนและภาระผูกพัน ณ วันสิ้นเดือน (๔) รายงานการรับจ่ายและการใช้จ่ายเงินรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) รายงานทางการเงินอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกองทุน รูปแบบ วิธีการจัดทำรายงานทางการเงิน ระยะเวลาส่งรายงานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๒๐ ให้กรมการจัดหางานจัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนประกาศกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการกองทุน เพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑/๑๘ กันยายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๗ (๒/๑) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
822084
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายใน ของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๕) แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๗ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคห้า และมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒/๑) ของข้อ ๗ แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ “(๒/๑) ค่าปรับทางปกครองที่ปรับตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑” ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการกองทุน เพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
807453
ระเบียบคณะกรรมการร่วมตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ การทํางานของคนต่างด้าว ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวที่ทํางานโดยไม่มีใบอนุญาตทํางาน หรือทํางานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทําได้ พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการร่วมตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากสิทธิที่จะทำได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการร่วมตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการร่วมตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในกรณีที่คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ อันเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดเฉพาะบทบัญญัติตามมาตรา ๘ ซึ่งกำหนดโทษไว้ตามมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๘ และมาตรา ๔๕ ให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวนห้าพันบาท หากคนต่างด้าวนั้นยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ข้อ ๔ คนต่างด้าวตามข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าปรับที่เปรียบเทียบตามพฤติการณ์ดังนี้ (๑) ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าคนต่างด้าวเคยกระทำความผิดตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวมาก่อน และมากระทำความผิดซ้ำอีกเมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ได้รับการเปรียบเทียบปรับหรือได้รับโทษในความผิดครั้งก่อน ให้เปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวนสองหมื่นบาท (๒) ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าคนต่างด้าวเคยกระทำความผิดตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวมาก่อน และมากระทำความผิดซ้ำอีกเมื่อยังไม่พ้นสองปีนับแต่วันที่ได้รับการเปรียบเทียบปรับหรือได้รับโทษในความผิดครั้งก่อน ให้เปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวนสามหมื่นบาท (๓) ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าคนต่างด้าวเคยกระทำความผิดซ้ำตาม (๑) หรือ (๒) และมากระทำความผิดซ้ำเป็นครั้งที่สามขึ้นไป ให้เปรียบเทียบปรับเพิ่มจากอัตราโทษปรับตามที่กำหนดไว้ใน (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี อีกจำนวนครั้งละหนึ่งหมื่นบาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินห้าหมื่นบาท (๔) ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าคนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหา มีเจตนาและมีพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ หรือทำงานอันมีลักษณะเป็นการแย่งงานหรือแย่งอาชีพของคนไทย หรือทำงานที่กำหนดห้ามมิให้คนต่างด้าวทำ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้เปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวนสามหมื่นบาท ข้อ ๕ การเปรียบเทียบปรับตามข้อ ๔ (๔) ให้พนักงานสอบสวนเสนอความเห็นต่อหัวหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้พิจารณาเปรียบเทียบปรับ ข้อ ๖ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือหัวหน้าพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ และคนต่างด้าวได้ชำระค่าปรับแล้ว ให้ส่งตัวคนต่างด้าวนั้นไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วให้แจ้งกรมการจัดหางานทราบ โดยอย่างน้อยต้องระบุชื่อ สัญชาติ เลขที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือเลขประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เท่าที่จะกระทำได้ โดยแจ้งไปยังหน่วยงานดังนี้ (๑) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งไปยังกองนิติการ กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ที่ตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลที่เปรียบเทียบปรับ (๒) ในจังหวัดอื่น ให้แจ้งไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. 256๑ ศิระ บุญภินนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ประธานกรรมการ พลตำรวจตรี อดุลย์ รัตนภิรมย์ ผู้บังคับการกองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดี ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรรมการ สันติ นันตสุวรรณ ผู้อำนวยการกองนิติการ ผู้แทนกรมการจัดหางาน กรรมการและเลขานุการ ปุณิกา/จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง/หน้า ๗/๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑
786370
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายใน ของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายใน ของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การดำเนินงานทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพอันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๕) แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายในของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๔ ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ วิธีปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการหรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๖ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๗ ให้กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๔๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒) เงินเพิ่มตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (๔) เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ตามพระราชกำหนดนี้ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๖) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้ตามความจำเป็น (๗) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้นำส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ข้อ ๘ ให้กรมการจัดหางานกำหนดโครงสร้างการบริหารงานกองทุนเพื่อรองรับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนประกาศกำหนด หมวด ๒ การรับเงิน การใช้จ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ข้อ ๙ ให้กรมการจัดหางานเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” เพื่อฝากเงินกองทุนและห้ามมิให้นำเงินไปใช้จ่ายก่อนเข้าบัญชีเงินฝาก เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการกองทุน กรมการจัดหางานอาจเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์ ในชื่อบัญชีเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง ได้ดังนี้ (๑) เพื่อใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุนภายในวงเงินและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง (๒) เพื่อคืนเงินให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคภายในวงเงินและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด (๓) เพื่อรับเงินคืน เงินเหลือจ่ายและดอกผลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขอรับการสนับสนุน และให้กรมการจัดหางานนำเงินที่ได้รับส่งเข้าบัญชีของกองทุนที่เปิดไว้ที่กรมบัญชีกลางตามวรรคหนึ่ง ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่รับเงิน ข้อ ๑๐ ให้กรมการจัดหางานนำเงินที่ได้รับส่งเข้าบัญชีของกองทุนที่เปิดไว้ที่กรมบัญชีกลางตามข้อ ๙ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่รับเงิน ข้อ ๑๑ เงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน (๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงานแก่คนต่างด้าว (๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว (๕) บริหารกองทุน (๖) บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๑๒ การใช้จ่ายเงินตามข้อ ๑๑ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด ทั้งนี้ ภายในวงเงินประมาณการรายรับและรายจ่ายประจำปีงบประมาณตามข้อ ๑๓ ข้อ ๑๓ ให้กรมการจัดหางานจัดทาแผนการดำเนินงานประจำปี ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา แผนการปฏิบัติงาน ประมาณการรายรับรายจ่ายประจำปี และประมาณการกระแสเงินสด ทั้งนี้ ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติอย่างน้อยหกสิบวันก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณของทุกปี และส่งให้กระทรวงการคลังอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณของทุกปี เพื่อใช้ประกอบการกำกับดูแล การบริหารและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน หมวด ๓ การจัดหาผลประโยชน์ ข้อ ๑๔ การนำเงินกองทุนไปดำเนินการเพื่อหาผลประโยชน์ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และให้กระทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ฝากไว้กับธนาคารของรัฐ หรือธนาคารพาณิชย์ (๒) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจ (๓) ซื้อตราสารแห่งหนี้โดยมีกระทรวงการคลังรับรอง หรืออาวัล หรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย (๔) ดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด หมวด ๔ การบัญชีและการตรวจสอบ ข้อ ๑๕ ให้กรมการจัดหางานจัดทำบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และให้ส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเมื่อผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองแล้ว ให้ส่งรายงานทางการเงินพร้อมรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชี ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน ข้อ ๑๗ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้กรมการจัดหางานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำงบการเงินในภาพรวมของแผ่นดิน ให้กรมการจัดหางานมีการบันทึกบัญชีของกองทุนในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๑๙ ให้กรมการจัดหางานจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการกองทุน และส่งให้กรมบัญชีกลาง ดังต่อไปนี้ (๑) รายงานแผนรายรับและแผนรายจ่ายประจำปี (๒) รายงานผลรายรับและผลรายจ่ายรายเดือน (๓) งบทดลองรายเดือนและภาระผูกพัน ณ วันสิ้นเดือน (๔) รายงานการรับจ่ายและการใช้จ่ายเงินรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (๕) รายงานทางการเงินอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกองทุน รูปแบบ วิธีการจัดทำรายงานทางการเงิน ระยะเวลาส่งรายงานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ ๒๐ ให้กรมการจัดหางานจัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนประกาศกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการกองทุน เพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๑/๑๘ กันยายน ๒๕๖๐
789050
ข้อกำหนดคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทางานของคนต่างด้าว ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุน เพื่อการบริหารจัดการการทางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
ข้อกำหนดคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุน เพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จึงออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “ข้อกำหนดคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินของกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อกำหนดนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงานแก่คนต่างด้าว “องค์กรเอกชน” หมายความว่า นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมโดยไม่มุ่งหวังผลกาไรทางเศรษฐกิจหรือมุ่งหวังผลทางการเมืองที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และหรือการให้ความช่วยเหลือด้านแรงงานแก่คนต่างด้าว “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมการจัดหางาน ข้อ ๔ การใช้จ่ายเงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังนี้ (๑) ช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงาน (๒) ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (๓) ช่วยเหลือและอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ที่เสนอโครงการหรือแผนงานในการดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงาน การจัดสวัสดิการ การศึกษา การสาธารณสุข และการให้ความคุ้มครองด้านแรงงานแก่คนต่างด้าว (๔) คืนให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว (๕) บริหารกองทุน (๖) บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกองทุนพิจารณาให้ใช้จ่ายตามความจำเป็นและความเหมาะสม ข้อ ๕ การจัดสรรเงินเพื่อคืนเงินให้แก่คนต่างด้าวที่ส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ตามข้อ ๔ (๔) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยให้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (เพื่อคืนคนต่างด้าว) ของ (ชื่อหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร)” เพื่อรับและจ่ายเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรคืนให้แก่คนต่างด้าว ภายในวงเงินที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ข้อ ๖ การจัดสรรเงินกองทุนเพื่อใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวตามข้อ ๔ (๑) (๒) (๓) (๕) และ (๖) ให้ดำเนินการตามแนวทางและหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้หน่วยงานที่ประสงค์ขอรับการจัดสรรเงินจากกองทุน จัดทำข้อเสนอประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เป้าหมายการดำเนินงาน ผลผลิต ตัวชี้วัด และวงเงินซึ่งมีรายละเอียดที่ขอรับการจัดสรรประมาณการรายจ่าย และแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนก่อนเริ่มต้นปีงบประมาณภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกองทุนกำหนด โดยโครงการที่ขอรับการจัดสรรเงินจากกองทุนต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณและแหล่งทุนอื่น หากหน่วยงานมีความจำเป็นต้องใช้เงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวในระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการจัดสรรเงินกองทุนโดยแสดงรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง เพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุน (๒) ให้หน่วยงานที่ขอรับเงินกองทุนเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของ (ชื่อหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร)” สำหรับการรับโอนเงินที่ได้รับการจัดสรรและแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากพร้อมส่งสำเนาสมุดเงินฝากให้แก่กรมการจัดหางานเพื่อจะได้สั่งจ่ายเงินกองทุนเข้าบัญชีเงินฝากโดยตรง และห้ามนำเงินอื่นใดที่ไม่ใช่เงินกองทุนฝากในบัญชีดังกล่าว ข้อ ๗ การใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ใช้จ่ายเงินกองทุนภายในวงเงินตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน (๒) ให้หน่วยงานที่ขอรับเงินกองทุนเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารของรัฐหรือธนาคารพาณิชย์ ประเภทกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของ (ชื่อหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร)” สำหรับจ่ายเงินตามงบรายจ่ายดังนี้ (ก) งบบุคลากร ได้แก่ ค่าจ้าง โดยให้จ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราวได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นตามความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างและวุฒิการศึกษาให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยอนุโลม (ข) งบดำเนินงาน ให้ใช้จ่ายได้ตามรายการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติโดยให้ถัวจ่ายภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ เว้นแต่ รายจ่ายประเภทค่าสาธารณูปโภคให้นำไปใช้จ่ายในประเภทอื่นภายในงบประมาณรายจ่ายนี้ได้ หากไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ (ค) งบลงทุนที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ (ง) งบรายจ่ายอื่น ให้ใช้จ่ายได้ตามที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ (๓) ในกรณีที่หน่วยงานมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดรายการค่าใช้จ่ายในงบดำเนินงาน ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนให้ดำเนินการเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินงานและผลผลิตตามที่ระบุในเอกสารประกอบการจัดทำข้อเสนอ เพื่อขอรับการจัดสรรเงินกองทุนตามมติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลแต่ต้องไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ให้หัวหน้าส่วนราชการของหน่วยงานตามวรรคหนึ่งที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดรายการค่าใช้จ่ายในงบดำเนินงาน ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน เมื่อหน่วยงานได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดรายการค่าใช้จ่ายแล้วให้รายงานต่อคณะกรรมการกองทุนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดรายการค่าใช้จ่าย ข้อ ๘ ให้อธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการใช้จ่ายเงินตามแผนการดำเนินงานประจำปีที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติโดยลงลายมือชื่ออนุมัติในหลักฐานการจ่ายหรือใบสำคัญคู่จ่าย หรือหลักฐานการขอรับชำระหนี้ทุกฉบับหรือลงลายมือชื่อในงบหน้าหลักฐานการจ่ายหรือใบสำคัญคู่จ่ายก็ได้ ข้อ ๙ การใช้จ่ายเงินกองทุนตามข้อ ๗ จากบัญชีประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของ (ชื่อหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร)” ให้ทำได้เมื่อนำเข้าบัญชีประเภทกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของ (ชื่อหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร)” ข้อ ๑๐ การจ่ายเงินกองทุนให้กระทำได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด (๒) เช็คระบุชื่อผู้มีสิทธิ และขีดฆ่า คำว่า “หรือผู้ถือ” ออก (๓) โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของคนต่างด้าว หรือเข้าบัญชีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมการโอนเงินเข้าบัญชีของคนต่างด้าวที่ขอรับเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรคืนให้ตกเป็นภาระแก่ผู้รับโอน ข้อ ๑๑ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินกองทุนของกรมการจัดหางาน ให้มีผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายร่วมกันสองฝ่ายฝ่ายละหนึ่งคน คือ อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายฝ่ายหนึ่งกับผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อ ๑๒ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินกองทุนของหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าหน่วยงานฝ่ายหนึ่งร่วมกับผู้ที่ได้รับมอบหมายอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้น ตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๑๓ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำเงินฝากคลัง การบัญชี การนำเงินส่ง และการพัสดุ หรือวิธีปฏิบัติอื่นใดที่ยังไม่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนดนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม หากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการได้ ให้นำเสนอคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติก่อนขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๑๔ ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของเงินกองทุนที่ได้รับการจัดสรรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๕ หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนต้องจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินกองทุนประจำเดือนพร้อมรายงานผลการดำเนินงานและส่งให้แก่กรมการจัดหางานภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป พร้อมเก็บหลักฐานการใช้จ่ายเงินไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ข้อ ๑๖ หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินต่อกองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดโครงการหรือวันสิ้นสุดปีงบประมาณ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกองทุน หากมีเงินเหลือจ่ายให้นำส่งเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกผลคืนกองทุนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการกองทุน เพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๔๙/๑๘ กันยายน ๒๕๖๐
855745
แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ และตามคำแนะนาของผู้บริหารและนักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่แล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเนื่องจากขณะนี้ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคระบาดใหญ่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่แต่แพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วและประเทศไทยได้รับผลกระทบเช่นกันในขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาที่ได้ผล รัฐบาลได้ใช้มาตรการป้องกัน สกัดกั้น ชะลอ และสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนมาเป็นลำดับและประเมินสถานการณ์เป็นรายวัน ตามความคืบหน้าของสถานการณ์ ข้อมูลข่าวสาร และคำแนะนำทางการแพทย์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนด้านสังคมความเป็นอยู่ เศรษฐกิจการครองชีพ ทรัพยากรของรัฐด้านการสาธารณสุขและป้องกันการตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ บัดนี้ ทุกฝ่ายเห็นว่าสถานการณ์ควรยกระดับขึ้นสู่การบังคับใช้มาตรการขั้นสูงสุดได้แล้วเพื่อว่ารัฐจะสามารถนำมาตรการอื่น ๆ มาบังคับใช้เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนจะเลือกใช้มาตรการใดก่อนหลังจะมีการออกประกาศและข้อกำหนดแจ้งให้ทราบต่อไป แต่ในเบื้องต้นจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสียก่อน ซึ่งได้ประกาศแล้วในวันนี้ ผลจากการประกาศดังกล่าวคือรัฐบาลจะมีช่องทางตามกฎหมายเข้าควบคุมหรือบริหารสถานการณ์ได้ เช่น จะมีการโอนอำนาจบางประการของรัฐมนตรีตามกฎหมายบางฉบับมาเป็นของนายกรัฐมนตรีเท่าที่จำเป็นและเป็นการชั่วคราวเพื่อความรวดเร็วและบูรณาการ จะมีการออกข้อกำหนดคือ ข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติบางอย่าง เช่น ห้ามเข้าออกสถานที่บางแห่ง ห้ามหรือจำกัดการเข้าออกราชอาณาจักรและการเคลื่อนย้ายประชาชนจำนวนมากข้ามเขตพื้นที่ การควบคุมการใช้ยานพาหนะ เส้นทางจราจร การควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์ มาตรการเหล่านี้แม้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และแม้ว่าสถานการณ์จากตัวเลขจำนวนผู้ได้รับเชื้อและการเสียชีวิตในประเทศจนถึงปัจจุบันจะยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่หากยังคงมีการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง การรวมกลุ่มคนจำนวนมากเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน การติดต่อสัมผัสหรือใกล้ชิด และการขาดความรู้ ความเข้าใจ ความรับผิดชอบ ตลอดจนการไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามมาตรการป้องกันโรคตามหลักสากล ประกอบกับกำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาเทศกาลและการเปลี่ยนฤดูกาลตามธรรมชาติ เชื้อโรคโควิด 19 ย่อมมีโอกาสแพร่ไปได้เร็วและเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นจนเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะจะกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และกระทบต่อการใช้ทรัพยากรด้านการสาธารณสุขของประเทศ เช่น แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ จนอาจขาดแคลนเข้าวันหนึ่ง อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียรุนแรงสุดจะประมาณได้ ดังที่ปรากฏในบางประเทศในขณะนี้ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสียแต่บัดนี้เพื่อความไม่ประมาท อันจะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและคลายความวิตกกังวลของประชาชน การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเฉพาะช่วงเวลานี้ โดยรัฐบาลจะพิจารณาเลือกใช้เฉพาะมาตรการเท่าที่จำเป็นตามคำแนะนำทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อป้องกันและระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค โดยถือว่าการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยและชีวิตของประชาชน การจัดสรรทรัพยากร เวชภัณฑ์ และการให้บริการทางการแพทย์ให้ทั่วถึงเพียงพอแก่ประชาชนชาวไทยมีความสำคัญเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ซึ่งแน่นอนว่าความสะดวกสบายของประชาชนในระหว่างนี้ย่อมลดน้อยลงกว่าเดิม เพราะทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ประชาชนยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่เกิดภาวะขาดแคลน ส่วนมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้เดือดร้อนจะได้ทยอยดำเนินการต่อไปในยามนี้เรากำลังต่อสู้กับมหันตภัยที่มองไม่เห็นตัวคือเชื้อโรคและอาจจู่โจมมาถึงเราทุกคนในทุกพื้นที่ได้ทุกเมื่อ จึงจำเป็นต้องควบคุมสถานการณ์และบังคับใช้มาตรการขั้นสูงสุดเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไประยะหนึ่งตามที่กฎหมายให้อำนาจรัฐบาลประกาศได้เป็นคราว ๆ ไป คราวละไม่เกินสามเดือน แต่อาจประกาศขยายเวลาต่อได้อีกตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ อันที่จริงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้กระทำมาหลายปีแล้วในขณะนี้ในบางพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่อาศัยเหตุแห่งการประกาศใช้ที่แตกต่างไปจากในครั้งนี้ รัฐบาลขอให้ประชาชนวางใจในระบบการสาธารณสุขของประเทศ และโปรดดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพราะความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐโดยแท้ ขณะเดียวกันโปรดให้ความร่วมมือกับทางการในการปฏิบัติตามมาตรการและคำแนะนำทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ตลอดจนรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ทางช่องทางที่เป็นทางการ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ระบุแหล่งข่าวอ้างอิงเชื่อถือได้ มิใช่ข่าวลือหรือข่าวที่ไม่ปรากฏแหล่งที่มา หากมีข้อสงสัยให้สอบถามได้ที่กระทรวงสาธารณสุขหรือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) หมายเลขโทรศัพท์ ๑๑๑๑ ขณะนี้ การอยู่กับบ้านตามคำกล่าวที่ว่า “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” การไม่รวมกลุ่มกับผู้คนจำนวนมาก การใช้มาตรการป้องกันโรคเพื่อตนเองและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การใช้หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ การหมั่นล้างมือ การไม่สัมผัสหรือรับเชื้อที่มากับฝอยละอองน้าลาย การเว้นระยะสัมผัสห่างจากผู้อื่น การไปพบแพทย์ในกรณีต้องสงสัย เป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วว่าสามารถลดความเสี่ยงได้ดีที่สุดเท่าที่เราจะป้องกันตนเอง คนที่ท่านรัก และประเทศชาติได้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง รัฐบาลจะได้แถลงให้ทราบเป็นระยะ ๆ ในโอกาสต่อไป สำนักนายกรัฐมนตรี ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๒๔ ก/หน้า ๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
457954
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
พระราชกำหนด พระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒[๑] พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๔๙๕ มาตรา ๔ ในพระราชกำหนดนี้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ มาตรา ๕ เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นและนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกันป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้ง ฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อน แล้วดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน หากมิได้ดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนด หรือคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ให้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลา ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศขยายระยะเวลาการใช้บังคับออกไปอีกเป็นคราว ๆ คราวละไม่เกินสามเดือน เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศที่อาจเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรา ๕ หรือสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงตามมาตรา ๑๑ และในการใช้มาตรการที่เหมาะสมตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อการป้องกัน แก้ไขหรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ความในมาตรานี้ไม่กระทบกระเทือนการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๕ ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็นเร่งด่วนอันอาจเป็นภัยต่อประเทศหรือประชาชน มาตรา ๗ ในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามมาตรา ๕ ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวง หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายใดก็ตาม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับ บัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว เพื่อให้การสั่งการและการแก้ไขสถานการณ์เป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การกำหนดให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ และเพื่อปฏิบัติงานตามกฎหมายที่ได้รับโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง โดยให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายนั้น ในการนี้ นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจหรือทหารซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ผู้บัญชาการตำรวจ แม่ทัพ หรือเทียบเท่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และกำหนดให้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่และบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการนี้ ให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามการสั่งการของหัวหน้าผู้รับผิดชอบนั้น เว้นแต่การปฏิบัติหน้าที่ทางทหารให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารแต่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการที่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะรัฐมนตรีอาจให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้เป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม หรือวรรคสี่แทน หรือมอบหมายให้เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสาม หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามวรรคสี่ และหน่วยงานตามวรรคห้าได้ และให้ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ข้าราชการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเหตุการณ์และความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่ นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจมีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคลหรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ได้ ให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ตามขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง มาตรา ๙ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น (๒) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย (๓) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร (๔) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ (๕) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ (๖) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดพื้นที่และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้ มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถกระทำได้โดยรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีอาจมอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบตามมาตรา ๗ วรรคสี่ เป็นผู้ใช้อำนาจออกข้อกำหนดตามมาตรา ๙ แทนก็ได้ แต่เมื่อดำเนินการแล้วต้องรีบรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว และถ้านายกรัฐมนตรีมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องเดียวกันภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกข้อกำหนด ให้ข้อกำหนดนั้นเป็นอันสิ้นผลใช้บังคับ มาตรา ๑๑ ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง และให้นำความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อมีประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว นอกจากอำนาจตามมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง (๒) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (๓) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน (๔) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที (๕) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม (๖) ประกาศห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน (๗) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ (๘) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม (๙) ประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด (๑๐) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก เมื่อเหตุการณ์ร้ายแรงตามวรรคหนึ่งยุติลงแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศตามมาตรานี้โดยเร็ว มาตรา ๑๒ ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยตามประกาศในมาตรา ๑๑ (๑) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกคราวละเจ็ดวัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่าสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดแล้ว หากจะต้องควบคุมตัวต่อไป ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง และจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ การร้องขออนุญาตต่อศาลตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกหมายอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ สิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ประกาศตามมาตรา ๑๑ (๙) หากเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร นายกรัฐมนตรีอาจประกาศให้ใช้มาตรการดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรหรือในพื้นที่อื่นซึ่งมิได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้ มาตรา ๑๔ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งตามมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ เมื่อมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มาตรา ๑๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๑๖ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๑๗ พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มาตรา ๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๑๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว รวมทั้งไม่อาจนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติสาธารณะและการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย และเนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ซึ่งมีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้นจนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ รวมทั้งทำให้ประชาชนได้รับอันตรายหรือเดือดร้อนจนไม่อาจใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข และไม่อาจแก้ไขปัญหาด้วยการบริหารราชการในรูปแบบปกติได้ สมควรต้องกำหนดมาตรการในการบริหารราชการสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้รัฐสามารถรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัย และการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งปวงให้กลับสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ วศิน/แก้ไข ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ หยก/ปรับปรุง ชาญ/ตรวจ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๑/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘
640288
ประกาศตามมาตรา 11 ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศตามมาตรา ๑๑ ประกาศตามมาตรา ๑๑ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง และมิใช่เป็นการกล่าวหาว่าบุคคลนั้นกระทำผิดอาญาซึ่งต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ดำเนินการดังนี้ ๑.๑ ก่อนจับกุมและควบคุมตัวบุคคลตามข้อนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องร้องขอต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจในพื้นที่ที่มีการจับกุมหรือควบคุมตัว หรือจะร้องขอต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่อาจดำเนินการตามมาตรา ๕๙ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ๑.๒[๒] เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาต เว้นแต่ไม่อาจจับกุมในวันเดียวกับวันที่ศาลอนุญาต ให้เริ่มนับเจ็ดวันนับแต่วันที่จับกุมได้ และให้นำตัวผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวไปศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่ง ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลันเพื่อเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตและจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลากลางจังหวัดที่มีการจับกุมและควบคุมตัวและที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้โดยสะดวก รายงานตามข้อนี้ต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ ก. ชื่อและตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม และผู้ควบคุมตัว ข. ชื่อบุคคลที่ถูกจับกุมและควบคุมตัว ค. เหตุอันเป็นที่มาของการจับกุมและควบคุมตัว โดยให้ระบุพฤติการณ์ตามสมควร ง. สถานที่ที่จะนำไปควบคุมตัว จ. พยานผู้รู้เห็นในการจับกุมและควบคุมตัว อย่างน้อย ๒ คน ฉ. หากมีการย้ายที่ควบคุมตัวก็ต้องดำเนินการตามข้อ ก ข้อ ข ข้อ ง และข้อ จ ๑.๓ การควบคุมตัวบุคคลจะต้องควบคุมตัวไว้ ณ สถานที่ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ แต่ให้ควบคุมไว้ในสถานที่ที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนด ๑.๔ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวอย่างผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหา ทั้งนี้ จะล่ามโซ่ตรวน หรือขังในกรงขัง หรือกระทำการอื่นที่รุนแรงต่อบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวมิได้ ๑.๕ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการร้องขอต่อศาล และดำเนินการตามข้อ ๑.๑ ถึงข้อ ๑.๔ ในแต่ละครั้งที่มีการร้องขอต่อศาล ทั้งนี้ โดยจะควบคุมตัวไว้ได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาตวันแรก การปฏิบัติตามข้อนี้ ให้ยึดถือกฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเคร่งครัด ๒. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่เรียกมารายงานตัวนั้น ให้ดำเนินการตามข้อ ๑ โดยเคร่งครัด ๓. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน ๔. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้นตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ๕. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ๖. ให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายตามที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศกำหนดต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ให้การซื้อขายบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วราชอาณาจักรต้องเก็บหลักฐานที่ระบุชื่อผู้ซื้อตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด สำหรับบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการขายไปก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บุคคลผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรไปรายงานการครอบครองโดยระบุชื่อผู้ครอบครอง ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ให้ผู้ให้บริการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีหน้าที่ต้องงดการให้บริการตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด[๓] การประกาศตามข้อนี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา[๔] ๗. ให้กำลังทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป แม้ว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกแล้วก็ตาม โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารปฏิบัติตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้การใช้กำลังทหารเป็นไปตามกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร การดำเนินการตามประกาศนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำรายงานตามแบบที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนด เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน[๕] ประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๖] สุนันทา/จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๖/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๒] ๑.๒ วรรคหนึ่ง ของข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน [๓] ข้อ ๖ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ข้อ ๖ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๓/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
828147
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง และวรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้ ๑. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ ๒. พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ๓. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ๔. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ๖. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๗. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ๘. พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๒๒ ๙. พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ ๑๐. พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ๑๑. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๒. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ๑๓. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ๑๔. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ๑๕. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๖. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕ ๑๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ ๑๘. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ๑๙. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม ๒๐. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ๒๑.[๒] พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ วรรคหกของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒)[๓] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๒] ๒๑. เพิ่มโดยประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๑๕/๑๒ กันยายน ๒๕๖๑
860749
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ดังต่อไปนี้ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายข้างต้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีประกาศหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น[๒] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒)[๓] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ปริญสินีย์/จัดทำ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๒/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ [๒] การโอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวตาม ๑. ถึง ๔๐. แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๓๖/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓
869262
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 6/2563 เรื่อง กำหนดสถานที่ควบคุมเพิ่มเติม
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง กำหนดสถานที่ควบคุมเพิ่มเติม[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีได้มีประกาศ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๑ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามข้อ ๒ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๔๔๘ นั้น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงกำหนดสถานที่ควบคุมเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ข้อ ๑ กรณีที่มีการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ส่งตัวไปควบคุมที่ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑ ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ข้อ ๒ ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนดนี้ ให้ใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควร ให้หัวหน้าผู้ควบคุมสถานที่มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการควบคุม การเยี่ยม ได้ตามที่เห็นสมควร โดยให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๔ ง/หน้า ๑/๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓
869254
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2)
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป นั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการชุมนุมและการก่อความไม่สงบในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและร้ายแรงเป็นไปโดยความเรียบร้อยและสามารถยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที รวมทั้งเพื่อระงับยับยั้งมิให้เกิดการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เห็นชอบการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ดังกล่าวและเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจนถึงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๘/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
869436
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 5 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจจับกุมและควบคุม และมีอำนาจออกคำสั่งเรียกบุคคล ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๕ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจจับกุมและควบคุม และมีอำนาจออกคำสั่งเรียกบุคคล ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น อาศัยอำนาจตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๓ และข้อ ๔ จึงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นนายทหารสัญญาบัตรที่มียศตั้งแต่ ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี นายตำรวจสัญญาบัตรที่มีชั้นยศตั้งแต่ ร้อยตำรวจตรี หรือพนักงานฝ่ายปกครอง ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เป็นผู้มีอำนาจ ดังนี้ ข้อ ๑ ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงานตัว หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน แล้วให้รายงานผู้บังคับบัญชาและรายงานกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทราบโดยทันที ข้อ ๒ ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญา เพื่อขออนุญาตจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ตามมาตรา ๑๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทราบโดยด่วน ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๗/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
869434
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 4 เรื่อง ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๔ เรื่อง ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม[๑] ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา นั้น อาศัยอำนาจตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒ จึงออกประกาศกำหนด ดังนี้ ข้อ ๑ ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอันมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) กีดขวางการจราจรจนไม่อาจใช้สัญจรได้ตามปกติ (๒) กีดขวางทางเข้าออกของอาคารหรือสถานที่ อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงาน การประกอบกิจการ หรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป (๓) มีการประทุษร้ายหรือใช้กำลังอันทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหายและเกรงกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน (๔) ขัดขืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งการเกี่ยวกับการชุมนุมเพื่อให้เป็นไปโดยสงบและไม่เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน (๕) โดยใช้เครื่องเสียง หรือใช้เวทีติดตั้งเครื่องขยายเสียง หรือใช้ยานพาหนะติดตั้งเครื่องขยายเสียง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๒ ห้ามมิให้ใช้วิทยุโทรคมนาคม โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่สามารถเสนอข่าว หรือทำให้แพร่หลายซึ่งภาพ เสียง หรือข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร ข้อ ๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตร หรือเทียบเท่าเป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๕/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
869432
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 3 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอำนาจตรวจค้นตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ ๓ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอำนาจตรวจค้นตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๔.๐๐ น. เป็นต้นไป และข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙ ประกอบตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ และประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามข้อ ๒ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความรุนแรงยุติลงโดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น จึงอาศัยอำนาจตามข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๒ และ ข้อ ๓ จึงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรหรือเทียบเท่ามีอำนาจตรวจค้นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางใด ๆ ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๔/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
869430
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 2/2563 เรื่อง ห้ามนำยานพาหนะบางประเภทและสิ่งของเข้าพื้นที่ควบคุม
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ ๒/๒๕๖๓ เรื่อง ห้ามนำยานพาหนะบางประเภทและสิ่งของเข้าพื้นที่ควบคุม[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๐๔.๐๐ น. เป็นต้นไป และข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙ ประกอบตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้ารับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามข้อ ๒ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๓ และข้อ ๕ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประกาศ ดังนี้ ข้อ ๑ ห้ามมิให้บุคคลใด ๆ นำยานพาหนะเข้ามา หรือใช้ในพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมาย หรือใช้ในภารกิจของทางราชการ ดังนี้ ๑.๑ ยานพาหนะซึ่งมีการดัดแปลงสภาพรถให้มีลักษณะเป็นหรือคล้ายเวที หรือติดตั้งเครื่องขยายเสียงพร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ หรือบรรทุกเครื่องขยายเสียง รวมถึงยานพาหนะที่มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเคลื่อนที่ หรือบรรทุกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเคลื่อนที่ ๑.๒ รถสุขาเคลื่อนที่ ๑.๓ ยานพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภค อันจะนำเข้ามาเพื่อประโยชน์แก่ผู้ชุมนุมในพื้นที่ที่มีการชุมนุมอันมิชอบด้วยกฎหมาย ข้อ ๒ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบยานพาหนะตามข้อ ๑ สามารถยึด หรืออายัดยานพาหนะดังกล่าว พร้อมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ หรือจะได้ใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำ ส่งเสริม หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๒/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
869428
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 1/2563 เรื่อง กำหนดสถานที่ควบคุม
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ ๑/๒๕๖๓ เรื่อง กำหนดสถานที่ควบคุม[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีได้มีประกาศ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๑ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามข้อ ๒ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นั้น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงกำหนดสถานที่ควบคุม ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ข้อ ๑ กรณีที่มีการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ส่งตัวไปควบคุมสถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค ๑ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (๒) กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ ค่ายนวมินทราชินี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ข้อ ๒ ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนดนี้ ให้ใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควร ให้หัวหน้าผู้ควบคุมสถานที่มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการควบคุม การเยี่ยม ได้ตามที่เห็นสมควร โดยให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑๑/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
0
ประกาศ ตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
เน„เธกเนˆเธžเธšเน€เธญเธเธชเธฒเธฃเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธฃ The document that you would like to see is not found.
868862
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร[๑] โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่าง ๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๑/๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓
863777
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๔) ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดา ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัมพิกา/จัดทำ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๖๙/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
863775
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๔) ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/จัดทำ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๖๘/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
863773
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 4)
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๔)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคราวที่ ๓ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการเพื่อให้สถานที่ กิจการและกิจกรรมต่าง ๆ สามารถเปิดดำเนินการได้มาเป็นลำดับ โดยคงเฉพาะมาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 รวมทั้งส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตตามแนววิถี “นิวนอร์มัล” แต่ประชาชนจำนวนมากละเลยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค มีการรวมกลุ่มกันโดยไม่รักษาระยะห่าง (social distancing) อันเป็นมาตรการอันเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่าได้ผลในการป้องกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานที่สาธารณะ สถานบริการและสถานบันเทิง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดและติดเชื้อแบบกลุ่มก้อนที่สามารถพัฒนาเป็นการระบาดในวงกว้างต่อไป นอกจากนี้ ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีข้อมูลว่าในเดือนสิงหาคมนี้จะมีคนไทยแสดงความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยไว้ต่อทางราชการเป็นจำนวนนับหมื่นคน อีกทั้งคนต่างชาติจำนวนมากซึ่งแจ้งว่ามีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรภายใต้การปฏิบัติตามพันธกรณีและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเพื่อความต่อเนื่องในการประกอบธุรกิจ การค้าพาณิชย์ แรงงาน หรือการศึกษา ดังนั้น เพื่อปกป้องความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุขของประเทศ และป้องกันมิให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ที่อาจมีความรุนแรงและสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดังที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง โดยลดข้อจำกัดการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของประชาชน แต่เน้นการบูรณาการความรับผิดชอบและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายนอกเหนือไปจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปโดยมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ มุ่งรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในด้านสุขภาพและชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปควบคู่กัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิไลภรณ์/จัดทำ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๖๖/๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
861968
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๓) ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๐/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
861960
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๓) ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๒๙/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
861950
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 3)
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๓)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคราวที่ ๒ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น โดยที่รัฐบาลได้ดำเนินบรรดามาตรการต่าง ๆ อันจำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 มาแล้วช่วงระยะเวลาหนึ่งทำให้การระบาดในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยาและวัคซีนยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย และทดลอง ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวทั่วโลกยังมีความรุนแรง แม้ในประเทศที่ควบคุมการระบาดของโรคได้ดีจนมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอัตราต่ำหรือคงที่ เมื่อได้ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ลงกลับปรากฏว่ามีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ดังปรากฏข้อเท็จจริงว่าในสัปดาห์ที่สี่ของเดือนมิถุนายนมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรค กระทั่งองค์การอนามัยโลกได้แถลงเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และสนับสนุนให้ดำเนินมาตรการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคมิให้นำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง แต่การขยายระยะเวลาในคราวนี้มิได้มุ่งที่จะห้ามหรือจำกัดการดำเนินกิจกรรมหรือกิจการใด ๆ แต่มุ่งประโยชน์เพื่อการบูรณาการความรับผิดชอบและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย นอกเหนือไปจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้การเฝ้าระวังการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคในห้วงเวลาที่ประเมินว่ายังคงมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ด้วยการให้กิจการและกิจกรรมต่าง ๆ สามารถเปิดดำเนินการได้มากขึ้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปโดยมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ มุ่งรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในด้านสุขภาพและชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปควบคู่กัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๒๗/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
859596
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2)
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๒) ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และมีประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การสั่งการและการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกเลิกการโอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวตาม ๑. ถึง ๔๐. แห่งประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายข้างต้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีประกาศหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๓๖/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓
859594
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๒) ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๓๕/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓
859592
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๒) ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๓๔/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓
859590
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 2)
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คราวที่ ๑ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น รัฐบาลได้ดำเนินบรรดามาตรการต่าง ๆ อันจำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 ทั้งการห้ามออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด การจำกัดการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง และการห้ามใช้อาคารหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค รวมทั้งการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 โดยหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจที่ได้รับมอบหมายโดยเข้มงวด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยยังไม่สิ้นสุด โดยปรากฏข้อมูลเป็นที่ประจักษ์ว่าหลายประเทศยังคงมีการระบาดและมีจำนวนผู้ติดเชื้อในระดับสูง และเมื่อได้ผ่อนคลายหรือยกเลิกมาตรการควบคุมแล้วกลับพบการระบาดของโรคระลอกใหม่ในระดับรุนแรง ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวของรัฐบาลเป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยในระหว่างนั้นรัฐบาลจะติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและกำหนดหรือผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนไปพร้อมกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปควบคู่กัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๓๓/๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858036
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือ ช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๔๒/๒๘ เมษายน ๒๕๖๓
858034
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๔๑/๒๘ เมษายน ๒๕๖๓
858032
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1)
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑)[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น โดยที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ยังคงปรากฏอยู่ แม้จะควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขไทย ความเข้าใจสถานการณ์ และที่สำคัญคือความร่วมมือจากภาคประชาชน แต่เนื่องจากโรคนี้ยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศและยังมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดจนการไปมาหาสู่ข้ามจังหวัด และการไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด อันแสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกได้เตือนให้การผ่อนคลายหรือการยกเลิกมาตรการป้องกันโรค พึงทำด้วยความระมัดระวังและตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะเป็นที่ปรากฏแล้วว่าภายหลังการยกเลิกการควบคุม สถานการณ์ในบางประเทศได้กลับมารุนแรงขึ้นใหม่ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลจะได้ประเมินสถานการณ์ โดยอาจเพิ่มความเข้มงวดหรือผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการตามข้อมูลของฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครอง และฝ่ายเศรษฐกิจ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปควบคู่กัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๔๐/๒๘ เมษายน ๒๕๖๓
855749
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ดังต่อไปนี้ ๑. พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ ๒. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ๓. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ๔. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ ๕. พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๗. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ๘. พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๒๒ ๙. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๐. พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ๑๑. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๒. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๔. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ๑๕. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๑๖. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑๗. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๘. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑๙. พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒๐. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒๑. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ๒๒. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ๒๓. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ๒๔. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๒๕. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒๖. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ๒๘. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒๙. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ ๓๐. พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ๓๑. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ๓๒. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ๓๓. พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓๔. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ๓๕. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ๓๖. พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๓๗. พระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๐๙ ๓๘. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ ๓๙. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ๔๐. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายข้างต้นยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีประกาศหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๒/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
855747
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร[๑] โดยที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ทั้งยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลกจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น การระบาดของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ประกอบกับมีการกักตุนสินค้า จำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งต้องป้องกันมิให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน กรณีจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน และการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปควบคู่กัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
829188
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๕๑/๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
829186
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๕๐/๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
829182
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้น อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลา
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงรวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๔๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
822397
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้ประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่ดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและประชาชน ภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นั้น โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑๕/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
822395
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑๔/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
822393
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑๓/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
822391
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก และอำเภอสุคิริน จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑๒/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
812932
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๑๖/๑๒ กันยายน ๒๕๖๑
812930
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2)
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ และมีประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้การสั่งการและการแก้ไขสถานการณ์เป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๒๑. แห่งประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ “๒๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๑๕/๑๒ กันยายน ๒๕๖๑
812926
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๑๔/๑๒ กันยายน ๒๕๖๑
812922
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๑๓/๑๒ กันยายน ๒๕๖๑
806301
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้ประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่ดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและประชาชน ภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นั้น โดยที่ปรากฏว่า ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอสุไหงโก - ลกจังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิวรรธน์/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๖/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑
806297
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานียกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิวรรธน์/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๕/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑
806293
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานียกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิวรรธน์/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๔/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑
806289
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานตามประกาศลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงรวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาสยกเว้นอำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลานออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิวรรธน์/จัดทำ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๓/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑
799336
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้ประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่ดังกล่าว มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและประชาชน ภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นั้น โดยที่ปรากฏว่า ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถ ใช้มาตรการต่าง ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑๑/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
799332
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
799330
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๙/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
799326
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์ อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑
793513
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๓ ง/หน้า ๕๖/๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
793509
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๓ ง/หน้า ๕๕/๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
793505
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๓ ง/หน้า ๕๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
785840
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคําสั่งที่นายกรัฐมนตรีกําหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๓๒/๑๒ กันยายน ๒๕๖๐
785838
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกําหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๓๑/๑๒ กันยายน ๒๕๖๐
785836
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอําเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๓๐/๑๒ กันยายน ๒๕๖๐
779351
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัญชลี/จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๔/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
779349
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้น ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัญชลี/จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๓/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
779347
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงรวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐ และของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อัญชลี/จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๒/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
771883
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๓๙/๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐
771880
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๓๘/๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐
771878
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๓๗/๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐
763659
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๘๘ ง/หน้า ๔๑/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๙
763657
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๘๘ ง/หน้า ๔๐/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๙
763655
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๘๘ ง/หน้า ๓๙/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๙
757925
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๖/๑๓ กันยายน ๒๕๕๙
757923
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๕/๑๓ กันยายน ๒๕๕๙
757921
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔/๑๓ กันยายน ๒๕๕๙
752035
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๘/๘ มิถุนายน ๒๕๕๙
752033
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๗/๘ มิถุนายน ๒๕๕๙
752031
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๖/๘ มิถุนายน ๒๕๕๙
747512
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
747508
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๕๒/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
747504
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/จัดทำ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๕๑/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
741617
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้น ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช /กัญฑรัตน์/จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๑๑/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘
741615
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช /กัญฑรัตน์/จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๑๐/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘
741607
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช /กัญฑรัตน์/จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๙/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘
735379
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๙ ง/หน้า ๑๗/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
735377
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๙ ง/หน้า ๑๖/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
735375
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ ปัญจพร/ผู้ตรวจ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๑๙ ง/หน้า ๑๕/๑๕ กันยายน ๒๕๕๘
729575
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๓/๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘
729573
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๒/๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘
729571
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ตามประกาศลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๑/๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘